วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ประวัติผู้แต่ง เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่๑ กับพระบรมราชินี ขึ้นครองราชย์เมื่อพุทธศักราช
๒๕๓๕ ซึ่งในยุคนี้ถือเป็นยุคทองของวรรณคดี
ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร(กลอนแปดชนิดหนึ่ง)
ชื่อและลักษณะนิสัยตัวละคร
อิเหนา
อิเหนาหรือระเด่นมนตรี มีชื่อว่า หยังหยังหนึ่งหรัดอินดราอุดากันสาหรีปาติอิเหนาเองหยังตาหลาเมาะตาริยะกัดดังสุรศรี ดาหยังอริราชไพรี เองกะนะกะหรีกุเรปัน เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระดา อิเหนาเป็นชายรูปงาม มีสเน่ห์มีนิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ อิเหนามีมเหสี ๑๐ องค์ ได้แก่
๑. จินตะหราวาตี มีตำแหน่งเป็น ประไหมสุหรีฝ่ายขวา
๒. บุษบาหนึ่งหรัด ” ประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
๓. สะการะวาตี ” มะเดวีฝ่ายขวา
๔.มาหยารัศมี ” มะเดวีฝ่ายซ้าย
๕. บุษบาวิลิศ ” มะโตฝ่ายขวา
๖. บุษบากันจะหนา ” มะโตฝ่ายซ้าย
๗. ระหนาระกะติกา ” ลิกูฝ่ายขวา
๘. อรสา ” ลิกูฝ่ายซ้าย
๙. สุหรันกันจาส่าหรี ” เหมาหลาหงีฝ่ายขวา
๑๐. หงยาหยา ” เหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย
ตัวอย่าง นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสะกระวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมาฯ

จินตะหรา
เป็นธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรีชื่อสุหรีจินดาส่าหรี แห่งเมืองหมันหยา รูปโฉมงดงาม มีนิสัยเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเองแสนงอน ช่างพูดประชดประชัน บางครั้งก็ก้าวร้าวหยาบคาย จนแม้แต่อิเหนาเองยังนึกรำคาญใจ
ตัวอย่าง เมื่อนั้น จินตะหราวาตีมีศักดิ์
ฟังตรัสขัดแค้นฤทัยนัก สะบัดพักตร์ผินหลังไม่บังคม
แล้วตอบถ้อยน้อยหรือพระทรงฤทธิ์ ช่างประดิษฐ์คิดความพองามสม
ล้วนกล่าวแกล้งแสร้งเสเล่ห์นิยม คิดคมแยบคายหลายชั้น

ท้าวกุเรปัน
เป็นกษัตริย์ครองกรุงกุเรปัน มีมเหสี ๕ องค์ ตามประเพณี มีประไหมสุหรีชื่อนิหลาอระตา ท้าวกุเรปัน ท้าวกุเรปันมีโอรสองค์แรกกับลิกูชื่อ กะหรัดตะปาตี และมีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือ อิเหนาและวิยดา ท้าวกุเรปันมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก ๓ องค์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของเมืองต่างๆ คือ ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปัน ทรงหยิ่งทะนงในศักดิ์ศรีของวงอสัญแดหวา จึงไม่พอใจมาก ที่อิเหนาไปมีความสัมพันธ์กับจินตะหรา
ตัวอย่าง ในลักษณ์อักษรสารา ว่าระตูหมันหยาเป็นผู้ใหญ่
มีราชธิดายาใจ แกล้วให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย
จนลูกเราร้างคู่ตุหนาหงัน ไปหลงรักผูกพันหมั้นหมาย
จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน

ท้าวดาหา
กษัตริย์ครองกรุงดาหา มีมเหสี ๕ องค์ ประไหมสุหรีชื่อ ดาหราวาตี ท้าวดาหามีโอรสธิดากับประไหมสุหรีคือบุษบาและสียะตรา ท้าวดาหาเป็นผู้มีใจยุติธรรมโดยทรงยินยอมให้จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา ซึ่งใหญ่กว่าบุษบาที่เป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา
ตัวอย่าง อันอะหนะบุษบาบังอร ครั้งก่อนจรกาตุหนาหงัน
ได้ปลดปลงลงใจให้ปัน นัดกันจะแต่งการวิวาห์
ซึ่งจะรับของสู่ระตูนี้ เห็นจะผิดเห็นจะผิดประเพณีหนักหนา
ฝูงคนทั้งแผ่นดินจะนินทา สิ่งของที่เอามาจงคืนไป
ท้าวกะหมังกุหนิง
ผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิง มีน้อง ๒ คน คือ ระตูปาหยัง และระตูประหมัน และมีโอรสชื่อ วิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรสที่พระองค์ และมเหสีรักดังแก้วตาดวงใจ เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงทราบว่าวิหยาสะกำคลั่งไคล้นางบุษบาธิดาของท้าวดาหา ซึ่งสิ่งที่เห็นเป็นเพียงรูปวาดเทานั้น พระองคืก็แต่งทูตไปขอนางทันที ครั้นถูกปฏิเสธ ท้าวกะหมังกุหนิงจึงโกรธมาก และยกทัพไปตีกรุงดาหาเพื่อแย่งนางบุษบามาให้วิหยาสะกำ แม้น้องทั้งสองจะทัดทาน แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดโดยประกาศว่าจะยอมตายเพื่อลูก
ตัวอย่าง แม้นวิหยาสะกำมอดม้วย พี่ก็คงตายด้วยโอรสา
ไหนไหนในจะตายวายชีวา ถึงเร็วถึงช้าก็เหมือนกัน
ผิดก็ทำสงครามดูตามที เคราะห์ดีก็จะได้ดั่งใฝ่ฝัน
พี่ดังพฤกษาพนาวัน จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมาฯ

วิหยาสะกำ
โอรสของท้างกะหมังกุหนิง ซึ่งเกิดจาดประไหมสุหรี วิหยาสะกำมีฝีมือในการใช้ทวนเป็นอาวุธ และเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวมาก
ตัวอย่าง เมื่อนั้น วิหยาสะกำใจกล้า
ได้ฟังคั่งแค้นแทนบิดา จึงร้องตอบวาจาไป
สังคามาระตา
โอรสของระตูปรักมาหงัน และเป็นน้องของมาหยารัศมี สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เก่ง และกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาได้หลายครั้ง
สุหรานากง
โอรสของท้าวสิงหัดส่าหรีที่เกิดจากประไหมสุหรี พระบิดาได้สู่ขอสะการะหนึ่งหรัด ธิดาท้าวกาหลังให้เป็นคู่ตุหนาหงันตั้งแต่เด็ก สุหรานากงปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาและพระมารดาอยู่เสมอ มีความกล้าหาญ และวางตนได้ย่างเหมาะสม
ตัวอย่าง เมื่อนั้น สุหรานากงวงศา
ก้มกราบทูลสนองพระบัญชา ข้ามาแจ้งข่าวที่กลางคัน
พระปิ่นภพกุเรปันธานี ให้กะหรัดตะปาตีเป็นทัพขันธ์
ยกจากเวียงชัยได้หลายวัน บรรจบกับระเด่นมนตรี
ระตูหมันหยา
โอรสของท้าวมังกัน พระบิดาได้ขอตุหนาหงัน ระเด่นจินดาส่าหรี ธิดาองค์สุดท้ายของระตูหมันหยาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว เมื่อแต่งงานกัน พระมารดาของระเด่นจินดาส่าหรีได้อภิเษกให้ครองเมืองหมันหยา โดยให้ระเด่นจินดาส่าหรีเป็นประไหมสุหรี ระตูหมัยหยาและประไหมสุหรีจินดา มีธิดาเพียงองค์เดียว คือจินตะหราวาตี ระตูหมันหยามีจิตใจอ่อนแอ ไม่มีความเป็นนักสู้
ตัวอย่าง ทรงอ่านสารเสร็จสิ้นเรื่อง กลัวจะเคืองขุ่นข้องหมองศรี
จึงยืนสารให้ระเด่นมนตรี แล้วมีพจนารกวาจา
เห็นงามอยู่แล้วหรือหลานรัก เจ้าหาญหักไม่ฟังคำข้า
มาพลอยได้ความผิดด้วยนัดดา เมื่อกระนี้จะว่าประการใดฯ
ประสันตา
เป็นพี่เลี้ยงหนึ่งในสี่ของอิเหนา ซึ่งท้าวกุเรปันเลือกแต่ครั้งอิเหนาประสูติใหม่ๆ บิดาของประสันตาเป็นเสนาบดีตำแหน่งยาสา(ฝ่ายตุลาการ) ของกุเรปัน ประสันตามีนิสัยตลก คะนอง ปากกล้า เจ้าอารมณ์ ชอบพูดเย้าแย่เสียดสีผู้อื่นอยู่เสมอ และยังเจ้าเล่ห์อีกด้วย
ตัวอย่าง บัดนั้น ประสันตาแสนกลคนขยัน
ทำตกใจทูลองค์พระทรงธรรม์ ข้าสำคัญมั่นคงอยู่ดงนี้
ด้วยช้างบาทย่างที่สะเทิน เดินเกินตำบนมาพ้นที่
เขาว่าดงหน้าก็ยังมี ถึงจะชี้เชิญให้ทัศนาฯ

ข้อคิดและคติธรรมของเรื่อง
๑. การใช้อารมณ์ ในชีวิตของคนนั้นย่อมต้องพบกับเรื่องที่ทำให้เราโมโหหรือทำอารมณ์ไม่ดี ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น เราควรจะรู้จักควบคุมตนเอง เพราะเมื่อเราโมโหจะขาดสติยั้งคิด และอาจทำอะไรตามใจตนเอง ซึ่งอาจผิดพลาดและอาจทำให้เกิดปัญหา ฉะนั้นจึงต้องควบคุมตนเองให้ได้
๒. การใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา โดยปกติแล้ว เรามีปํญญาควรใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา ถ้าใช้กำลังในการแก้ปัญหานั้นเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลเสียตามมา และอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
๓. การกระทำอะไรโดยไม่คิดหรือคำนึงถึงผลที่ตาม การที่จะทำอะไรควรคิดให้ดีก่อนว่าถูกหรือไม่ และทำไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วผลนั้นทำให้ผู้อื่นเดือดหรือไม่ การทบทวนก่อนจะทำให้ลดการเกิดปัญหาที่จะเกอดขึ้นและแก้ไขปัญหาได้ทัน
ประโยชน์และคุณค่าที่ได้จากเรื่อง
¤ ด้านวรรณศิลป์
ตัวอย่างเช่น ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสะกระวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
ชมวิหกนกไม้ไปตามทาง คะนึงนางพลางรีบโยธีฯ
ซึ่งความงานด้านวรรณศิลป์ตรงนี้ เป็นการที่กวีเห็นสิ่งรอบตัวแล้วเปรียบเทียบกับนางอันเป็นที่รักอาศัยการเล่นคำ เป็นสื่อถ่ายทอดออกมา ทำให้เกิดความไพเราะ และมีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้นแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกเศร้าสร้อยของอิเหนาที่ต้องพรากจากผู้หญิงที่รัก ๓ คน
เล่นคำ เบญจวรรณ - วัน (เบญจวรรณ คือ นกแก้วขนาดโต)
นางนวล - นวลสมร (นวลสมร คือ คนรัก)
จากพราก – จาก (จากพราก คือ นกเป็ดน้ำ)
เต่าร้าง – ร้าง (เต่าร้างคือ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง)
นกแก้ว – แก้วพี่ (แก้วพี่ คือ นางอันเป็นที่รัก)
ตระเวรไพร – เวร (ตระเวรไพร คือ นกชนิดหนึ่ง)
เค้าโมง – โมง (เค้าโมง คือ นกชนิดหนึ่ง)
คับแค – คับใจ (คับแค คือ นกชนิดหนึ่ง)
¤ ด้านเนื้อเรื่อง
ที่มีโครงเรื่องสนุก เนื่อเรื่องสำคัญคือ อิเหนาหลงรักนางจินตะหรา ทั้งที่ตนมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปัญหาต่างๆที่ทำให้เนื่อเรื่องน่าติดตามมากขึ้น
¤ ด้านความรู้
สังคมและวัฒนธรรมไทย ร.๒ ทรงสร้างฉากในเรื่องให้เป็นสังคม วัฒนธรรม บ้านเมืองไทย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจสังคม และวัฒนธรรมไทยในราชสำนัก และชาวบ้านหลายประการ
¤ ด้านการละครและศิลปกรรม
Ø อิเหนาเป็นเรื่องยอดของละครรำ เพราะใช้คำประณีต แต่งตัวงดงาม บทเพลงขับร้องและเพลงหน้าพาทย์กลืนกับเนื้อเรื่องและท่ารำ
Ø วงดนตรีไทยนำยมนำกลอนจากเรื่องอิเหนาไปขับร้องกันมาก เช่น ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน และตอนประสันตาต่อนก
เป็นต้น
Ø การช่างไทย ผู้อ่านจะได้เห็นศิลปะการแกะลวดลายการปิดทองส่องชาดและลายกระหนกที่งดงามของศิลปะไทย
คำศัพท์
กระยาหงัน สวรรค์
กะระตะ กระตุ้นให้เดินหรือวิ่ง
กั้นหยั่ง อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว ใบมีดตั้งแต่กั่น (ส่วนที่ถัดจากโคนอาวุธสำหรับหยั่ง ลงในด้ามอาวุธ) ถึงปลายนั้นเท่ากัน มีคมทั้งสองข้าง
กลเม็ด ปุ่มที่ฝักอาวุธเช่นกั้นหยั่นสำหรับคล้องห่วงเพื่อยึดตัวอาวุธไว้กับฝัก เมื่อจะ
ชักออกมาจึงจะปลดห่วงที่คล้องออกจากปุ่มนั้น
กิริณี ช้าง
แก้วพุกาม แก้วมีค่าจากเมืองพุกาม
เขนงปืน เขาสัตว์ที่ใช้ใส่ดินปืน
โขลงทวาร ประตูป่า เมื่อจะออกศึกมีการทำพิธีตามตำราพราหมณ์เพื่อความเป็นชัยมงคล
โดยทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้สองข้างประตูมีพราหมณ์นั่งประพรมน้ำมนต์ให้
ทหารเดินลอดประตู
งาแซง ไม้เสี้ยวปลายแหลม วางเอนเรียงลำดับสำหรับป้องกันข้าศึก
ชักปีกกา จัดทับให้มีกองขวาและกองซ้ายคล้ายปีกกา
ดวงยิหวา ดวงชีวาหรือดวงใจ หมายถึงผู้เป็นที่รัก
ยิ่งดัสกร ศัตรู
ตุหนาหงัน หมั้น
ประเสบัน ตำหนัก
ปักหมาหงัน เมืองของระตูผู้เป็นบิดา
มุรธาวารีภิเษก น้ำที่ผ่านพิธีกรรมเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์
วิหลั่น ค่ายที่ทำให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกที่ละน้อยๆ ใช้ว่า ปิหลั่น ก็มี
เสาตะลุง เสาใหญ่สำหรับผูกช้าง
อะหนะ ลูก
อาสัตย์ ไม่ซื่อตรง
อึงอุตม์ เสียงดังมาก

1 ความคิดเห็น:

Princess OF Ice-creaM กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

พรุ่งนี้สอบภาษาไทยเรื่องนี้พอดี

เยี่ยมไปเลย อิอิๆ ขอบคุณมั่กๆคะ ^^